Friday, January 31, 2014

E-Tourism


    E-Tourism            
               ในปัจจุบันการท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในต่างประเทศ   ประเทศไทยนั้นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวเป็นอันดับต้นๆ  แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้คงไม่มีมีใครคิดจะเดินทางท่องเที่ยว และจากสภาพเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันนี้เองทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะรายได้หลักของประเทศไทยนั้นมาจากการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้การท่องเที่ยวของไทยย่อมได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก  อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การท่องเที่ยวไทยไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรก็คือผู้ประกอบการ  บริษัททัวร์และนักธุรกิจด้านการท่องเที่ยวยังคงยึดติดอยู่กับการท่องเที่ยวแบบเดิมๆอยู่ นั่นคือการนั่งรอนักท่องเที่ยวเดินเข้ามาและมุ่งหานักท่องเที่ยวที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่กลับไม่แสวงหานักท่องเที่ยวจากมุมโลกอื่นเลยทั้งนี้เพราะผู้ประกอบการในไทยยังไม่เปิดกว้างและก้าวเข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ต (Internet) เท่าที่ควรหรือยังไม่คุ้นเคยกับระบบที่เรียกว่า E-Tourism
                E-Tourism คือการใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีในการท่องเที่ยวเพื่อช่วยให้การท่องเที่ยวเป็นเรื่องง่าย  ในปัจจุบัน E-Tourism ไม่ใช่เรื่องแปลกในระดับโลกอีกต่อไปเพราะธุรกิจท่องเที่ยว บริษัททัวร์ต่างๆที่เป็นบริษัทระดับยักษ์ใหญ่ของโลกนั้นต่างใช้ E-Tourism ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้ฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นและทำให้การบริการด้านการท่องเที่ยวเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกโดยผ่านอินเตอร์เน็ตออนไลน์ การเข้ามาของอินเทอร์เน็ตได้ปฏิวัติวิถีการท่องเที่ยวแบบโบราณ โดยเฉพาะ การสืบค้นข้อมูล ข้อหาสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมชั่น รวมถึงวางแผนการเดินทางล่วงหน้า ให้ง่ายดุจพลิกฝ่ามือ และยังสร้างสรรค์โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น แต่สำหรับประเทศไทยนั้น E-Tourism ยังคงเป็นเรื่องแปลกใหม่เพราะผู้ประกอบการและบริษัททัวร์ส่วนใหญ่ในไทยนั้น ยังคงขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้อินเตอร์เน็ตในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวอยู่มาก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกรวม 1,000 ล้านคน และ 80% ของคนจำนวนนี้ ใช้อินเตอร์เน็ตในการหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว อาทิ แหล่งท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร และบริการด้านการท่องเที่ยวอื่นๆ ตลอดจน การใช้บริการจองผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยระบบ E-Commerce ก็ตาม ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
                นอกจากบริษัททัวร์ของไทยไม่เปิดเข้าหาโลกอินเตอร์เน็ตเท่าที่ควรแล้ว ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การท่องเที่ยวของไทยประสบปัญหา คือ การที่โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว หรือบริษัททัวร์ขาดความร่วมมือที่ดีต่อกัน จากแนวคิดของ Ronold R.Coase (1937) กล่าวว่า หน่วยผลิตจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีต้นทุนธุรกรรม (Transaction Cost) ซึ่งก็คือ ต้นทุนในการติดต่อกับผู้ผลิตรายอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการของหน่วยผลิต ซึ่งถ้าหากมีต้นทุนทางธุรกรรมในการติดต่อสูงจะทำให้หน่วยผลิต เลือกที่จะผลิตสินค้าหรือบริการด้วยตนเองโดยไม่ติดต่อกับผู้ผลิตรายอื่นๆ จากทฤษฎีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าบริษัททัวร์ในประเทศไทยที่ยังขาดความร่วมมือต่อกันนั้น ผมเห็นว่ามาจากสาเหตุใหญ่ๆ สองประการ คือ
ความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูลกลุ่มลูกค้า: มาจากการที่หน่วยงานต่างๆมีการปกปิดข้อมูลลูกค้าต่อกัน อาจเนื่องด้วยการเกรงกลัวการสูญเสียลูกค้าให้กับคู่แข่ง เพราะการทราบข้อมูลลูกค้าของคู่แข่ง จะทำให้คู่แข่งเกิดการพัฒนาบริการให้เหมาะสมกับลูกค้าได้มากขึ้น และนำไปสู่การแย่งลูกค้าระหว่างบริษัทด้วยกัน ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าที่เข้ามาท่องเที่ยวต้องเสียเวลาในการติดต่อ โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยวแยกกันต่างหาก ทำให้การท่องเที่ยวในประเทศไทยไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร
ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของบริการของหน่วยผลิตรายอื่น: เกิดจากการที่ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในประเทศไทยขาดการจัดมาตรฐานที่ดี ทำให้เกิดการขาดความไว้ใจที่จะส่งลูกทัวร์ให้แก่กันและกัน ยกตัวอย่างเช่น บริษัททัวร์รายหนึ่งได้ทำสัญญากับสายการบินA โดยที่ไม่รู้ว่าสายการบินA เป็นสายการบินที่ราคาถูก แต่ไม่มีมาตรฐาน ซึ่งเมื่อนักท่องเที่ยวใช้บริการแล้วไม่พอใจกับบริการ ก็จะตำหนิไปยังบริษัททัวร์ ซึ่งทำให้บริษัททัวร์เสียชื่อเสียง ทั้งนี้จากทฤษฎีของ Coase การกระทำเช่นนี้อาจเรียกได้ว่า เป็น สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete Contract) เนื่องจากไม่สามารถบังคับให้ผู้ประกอบการอื่นๆทำตามาตรฐานที่ต้องการได้ ซึ่งอาจเกิดจากความจำกัดในการประมวลข้อมูลของคน (Bounded Rationality) เช่น ข้อมูลความรู้ การคาดการณ์ ทำให้หน่วยผลิตไม่สามารถเขียนสัญญาที่สมบูรณ์ (Complete Contract) ได้
            นอกจากนี้อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้ E-Tourism ไม่ประสบความสำเร็จกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเท่าที่ควร ก็คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ไม่เชื่อมั่นในระบบ E-Tourism ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย จากผลสำรวจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่รู้จักเวบไซต์การท่องเที่ยวของไทย  และยังรู้สึกไม่ปลอดภัยในการตัดสินใจเลือกบริษัททัวร์ในการท่องเที่ยว  ซึ่งมีข้อมูลด้านการท่องเที่ยวหรือแพคเกจทัวร์ที่ไม่ชัดเจน  มีความกังวลว่าบริการที่โฆษณากับบริการที่ได้รับจะไม่เหมือนกัน อีกทั้งยังขาดความสะดวกในการซื้อบริการ  ซึ่งพฤติกรรมของลูกค้าเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่สมมาตรของข้อมูล (Asymmetric Information) ระหว่างลูกค้ากับผู้ประกอบการการท่องเที่ยวของไทย ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในเมืองไทยถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของกิจการที่มีข้อมูลมากกว่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง
             นอกจากนี้หากมองในแง่ของผู้ผลิตแล้ว E-Tourism ยังทำให้หน่วยผลิตมีต้นทุนทางธุรกรรมถูกลงเพราะ จะทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยผลิตต่างๆ กับลูกค้านักท่องเที่ยว เป็นไปได้ง่ายและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แต่ว่าผู้ประกอบการต่างๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะต้องหันมาให้ความร่วมมือกันในเรื่องข้อมูลลูกค้า รวมไปถึงการรักษาระดับมาตรฐานการบริการของการท่องเที่ยวไทย ซึ่งผมคิดว่าจะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเป็นหนึ่งเดียว สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติได้ดีขึ้น และอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย
            เมื่อเห็นประโยชน์จาก E-Tourism มากมายขนาดนี้แล้วผู้ประกอบการทั้งหลายก็ควรหันมาสนใจการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่นี้กันให้มากกว่าเดิม  รับรองว่าหากประเทศไทยเราพัฒนาให้ระบบการท่องเที่ยว E-Tourism ให้ทัดเทียมกับต่างชาติตำแหน่งผู้นำด้านการท่องเที่ยวของโลกก็คงจะไม่ไกลเกินเอื้อมแน่ๆ...                    

Web Blog


Web Blog  คือ Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)

ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น

จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง

ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น

ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq

เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ

และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง

สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ใช้อย่างไร

1.หาเว็บที่ให้สามารถให้เช่า blog ได้

2.สมักรเป็นสมาชิกของเว็บนั้น

3.เมื่อเราเป็นสมาชิกแล้วก็สามารตกแต่ง blog ของเราได้

สรุป

สรุป
                  สรุป ทั้ง 8 หัวข้อนั้นเชื่อมโยงกันเพราะทั่งหมดเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการสือสารด้วยกันทั่งสิ้น สามารถนำมาใช่ในการท่องเที่ยวได้โดยผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวได้นำเอา E-Tourism มาใช้ในธุรกิจ คือ เครือข่ายระบบการบริการท่องเที่ยวเเบบเบ็ดเสร็จหรือ Global Distribution System (GDS) ซึ่งเป็นระบบสำรองที่นั่งหรือห้องพักผ่านระบบอิเล็กทรอนิคทั่วโลก การนำเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ (Computerized Reservations Systems หรือ CRS)โดยใช้ระบบ ICT เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถประชาสัมพันธ์สิ้นค้าได้ทั่วถึงเเละยังสามารถจำเเนกเเละกำหนดเป้าหมายลูกค้าได้ ตัวอย่างเช่น การจองสายการบินต่างๆ

Cloud Computing


Cloud Computing (ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ)

            Cloud Computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้;ระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร

            Cloud Computing คือ บริการทางอินเตอร์เน็ตที่เป็นแบบการรวบรวมทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นมาเชื่อมโยงไว้ด้วยกัน โดยมีการทำงานสอดประสานกันแบบรวมศูนย์ โดยผู้จัดสรรทรัพยากรนั้นเรียกว่า third-party Provider หรือผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 มีหน้าที่รวบรวมพื้นฐานต่างๆที่จำเป็นเข้าไว้ด้วยกันการใช้ทรัพยาการคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และระบบสารสนเทศแบบเสมือนจริง Cloud Computing จะทำงานโดยเมื่อผู้ขอใช้บริการต้องการใช้สิ่งใดก็ส่งร้องขอไปยังซอฟแวร์ระบบ แล้วซอฟแวร์ระบบก็จะร้องขอไประบบเพื่อจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ขอใช้บริการต่อไป โดยผู้ขอใช้บริการมีหน้าที่เสียค่าใช้บริการเพื่อความสามารถในการทำงานตามต้องการโดยไม่ต้องทราบหรือเข้าใจหลักการทำงานเบื้องหลัง


            จากรูปเป็นการแสดงหลักการทำงาน โดยจะเห็นได้ว่าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ client กับ server ซึ่งจะเห็นได้ว่าทางฝั่งของ client จะมีแค่คอมพิวเตอร์ คือ client แค่มี web browser เพื่อเปิดเรียกใช้การทำงานก็เพียงพอแล้ว ส่วน server ก็ทำหน้าที่ประมวลผลต่างๆให้ผู้ขอใช้บริการ
นิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing

            ความต้องการ (Requirement) ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตรยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคาที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน Cloud Computing แล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้องการ



มีการให้คำจำกัดความจากบริษัทต่างๆไว้
บริษัท Gartner กล่าวว่า ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ แนวทางการประมวลผลที่พลังของโครงสร้างทางไอทีขนาดใหญ่ที่ขยายตัวได้ถูกนำ เสนอยังลูกค้าภายนอกจำนวนมหาศาลในรูปแบบของบริการ
ฟอเรสเตอร์กรุ๊ป กล่าวว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ กลุ่มของโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกบริหารจัดการและขยายตัวได้อย่างมาก ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆของผู้ใช้และเก็บค่า บริการตามการใช้งาน โดยการอิงหลักการของ Grid Computing, Utility Computing และ SaaS


CRS - (Computer Reservation System)

Computerize Reservation System: CRS

ระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ (Computerize Reservation System: CRS)

                  ระบบสำรองที่นั่งของการบินไทย เดิมการบินไทยมีระบบสำรองที่นั่งของตนเอง คือระบบรอยัล (Royal System) โดยในระยะแรก ผู้โดยสารที่ต้องการสำรองที่นั่งต้องติดต่อโดยตรงกับการบินไทย ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนแผนทางการตลาดทำให้เกิดตัวแทนจำหน่าย (Travel Agent) ขึ้น ซึ่งตัวแทนจำหน่ายตั๋วได้เข้ามามีบทบาทและมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อที่นั่งของสายการบินมากขึ้น จากการสำรวจสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า  การขายผ่านตัวแทนจำหน่ายมียอดสูงถึงร้อยละ 80 ดังนั้นการบินไทยจึงได้ติดตั้งระบบรอยัลให้กับตัวแทนจำหน่าย (Travel Agetn) ในประเทศและประเทศใกล้เคียง ซึ่งการใช้ระบบรอยัลนี้  ทั้งการบินไทย (สำนักงานขายบัตรโดยสาร และสำรองที่นั่ง) และตัวแทนจำหน่ายจะขายได้เฉพาะที่นั่งของเที่ยวการบินไทยเท่านั้น อีกทั้งการขยายเครือข่ายก็เป็นไปได้อย่างจำกัด เนื่องจากมีต้นทุนการพัฒนา และเชื่อมโยงระบบสูง การบินไทยจึงได้ตัดสินใจ เข่าร่วมพันธมิตรกับระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ ( Computerize Reservation System: CRS)  ที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในภาคพื้นยุโรป คือระบบอะมาดิอุส (Amadeus) ซึ่งมีสายการบินลุฟท์ฮันซ่า แอร์ฟรานซ์  ไอบีเรียและเอสเอเอส  เป็นแกนนำในการจัดตั้ง  โดยได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533  ให้พันธมิตร และร่วมลงทุนในบริษัทการตลาดอะมาดิอุสประจำประเทศไทย  (Amadeus Thailand) ซึ่งสามารถดำเนินการในลักษณะเป็นเอกเทศเพิ่มความคล่องตัว และขีดความสามารถ  โดยได้สิทธิในการจัดจำหน่ายในประเทศไทย อินโดจีน  และพม่า

                        ปัจจุบันการสำรองที่นั่งของการบินไทยทำโดยผ่านทางสำนักงานขายของการบินไทย และผ่านทางตัวแทนจำหน่าย  (Travel Agent) กว่าแสนรายทั่วโลก โดยมีสัดส่วนจากการขายผ่านสำนักงานขายของการบินไทยเอง คิดเป็นร้อยละ 40 ในขณะที่การขายผ่านตัวแทนจำหน่ายคิดเป็นร้อยละ 60 สำหรับ

                        ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ขณะนี้สามารถสำรองที่นั่งของเที่ยวบินการบินไทยโดยผ่านระบบ CRS คือ ระบบอะมาดิอุส (Amadeus) ที่การบินไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย อีกทั้งเป็นระบบที่สำนักงานขายของการบินไทยทั่วโลกใช้  ส่วนตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกสามารถสำรองที่นั่งการบินไทยผ่านระบบ CRS  เกือบทุกระบบ
    ทั้งนี้การสำรองที่นั่งผ่านตัวแทนจำหน่าย นับวันจะมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (The International Air Transport Association : IATA)  และสายการบินต่าง ๆ ในประเทศไทยได้พยายามผลักดันงานด้านสำรองที่นั่ง และออกบัตรโดยสารให้ดำเนินการโดยตัวแทนจำหน่ายให้มากขึ้น

                        ระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ (Computerize Reservation System: CRS) เกิดจากกลุ่มสายการบินและกลุ่มร่วมกันพัฒนา เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในด้านการจัดจำหน่ายอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นการกระจายการขายไปยังตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันทำให้ CRS แต่ระบบเพิ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกเหนือจากการสำรองที่นั่งสายการบิน อาทิ การจองห้องพักโรงแรม รถเช่า การจองที่นั่งรถไฟ ฯลฯ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า การสำรองที่นั่งแบบเบ็ดเสร็จ (Global Distribution System: GDS)

ปัจจุบันทั่วโลกมีระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ (CRS) ที่สำคัญดังนี้

1.    ระบบเซเบอร์ (Sabre) ก่อตั้งโดยสารการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ส
2.    ระบบอะมาดิอุส (Amadeus) ก่อตั้งโดยสายการบิน แอร์ฟรานซ์ ลุฟท์ฮันซ่า ไอบีเรีย และเอสเอเอส
3.    ระบบอาบาคัส (Abacus) ก่อตั้งโดยสายการบินในเอเซีย คือ สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค สิงค์โปร์ แอร์ไลน์ส และมาเลเซีย แอร์ไลน์ส
4.    ระบบเวริ์ลสแปน (World Span) ก่อตั้งโดยสายการบิน เดลต้า แอร์ไลน์ นอร์ธเวสต์ และทรานสเวริ์ล แอร์ไลน์ส
5.    ระบบกาลิเลโอ (Galileo) ก่อตั้งโดยสายการบิน บริติชแอร์เวย์ และ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
6.    ระบบโทปาส (Tapaz) ก่อตั้งโดยรัฐบาลเกาหลี
7.    ระบบแอกเซส (Axess) ก่อตั้งโดยสายการบิน เจแปน แอร์ไลน์ส
8.    ระบบอินฟินี (Infini) ก่อตั้งโดยสายการบิน ออลนิปปอน แอร์เวย์


Central Reservation System หรือ CRS คือระบบที่เป็นศูนย์กลางของการจองห้องพักของโรงแรม ที่จะช่วยทำหน้าที่ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจองห้องพักโรงแรมในด้านต่างๆ ที่ใช้งานได้ผ่านระบบออนไลน์ และมีลักษณะการทำงานแบบ Real Time ช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดจำหน่ายห้องพักได้เป็นอย่างดี
การที่โรงแรมมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่หลากหลาย และกระจัดกระจายอยู่ทั่วโลกนั้นการมีระบบศูนย์กลางการจองห้องพักที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้มีความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี ตลอดจนการบริหารจัดการรายได้ของทางโรงแรมก็จะทำได้ง่ายขึ้น
ระบบ Central Reservation System หรือ CRS นั้น เป็นระบบที่มีศักยภาพที่เหนือกว่า Internet Distribution System ตรงที่สามารถใช้ในการรับจองได้ทั้งแบบ Online และ Offline คือสามารถใช้กับสำนักงานรับจองทางโทรศัพท์ และการสื่อสารทางอื่นๆ ที่มีพนักงานไว้คอยให้บริการได้อีกด้วย
โดยหลักการแล้ว CRS จะเป็นระบบที่ทางโรงแรมนำเอา Room Inventory ของโรงแรมมาใส่ไว้ทั้งหมด และมีการกำหนด Rate Structure หรือ Rate Tier สำหรับขายให้กับทุก Market Segment ช่วยให้สำนักงานตัวแทนในการขายห้องพักที่ได้รับการแต่งตั้งมอบหมายเข้าไปหาข้อมูล และขายผ่านทางช่องทางต่างๆ ในแนวทางเดียวกันได้ทั่วโลก
ระบบ CRS ที่มีประสิทธิภาพบางระบบ สามารถที่จะทำการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ PMS ได้ในลักษณะของการเชื่อมโยงแบบ 2 ทาง กล่าวคือสามารถนำข้อมูลจาก PMS ของทางโรงแรมออกไปใช้งานได้ และสามารถทำการปรับปรุงข้อมูลของระบบ PMS ได้ด้วยเช่นกัน ระบบ CRS ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับ PMS ในลักษณะ 2 ทางนี้ จะช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงานของพนักงานลงไปได้เป็นอย่างมาก เพราะการทำงานจะเป็นไปในลักษณะของ Single Entry ที่ผู้ทำรายการเพียงครั้งเดียว ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ CRS และ PMS อื่นๆ ก็สามารถนำเอาข้อมูลดังกล่าวไปใช้งานร่วมกันได้ในทันที
นอกจากนี้ ระบบ CRS ที่มีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถทำการเชื่อมโยงข้อมูลกับ Channel Manager ในการจัดจำหน่ายห้องพักผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายห้องพักออนไลน์อื่นๆ ได้ด้วยเช่น GDS, IDS, OTAs เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจองห้องพักจาก CRS เพียงจุดเดียว และมีเอกภาพในการบริหารจัดการมากขึ้น
ระบบ CRS ที่ดี ควรจะรองรับการทำงานต่างๆ ดังต่อไปนี้ 

การบริหารการจองห้องพักและราคาค่าห้องพัก :

  • เพิ่ม แก้ไข และยกเลิกการจองห้องพักได้
  • กำหนดราคาค่าห้องพักมาตรฐาน ราคาแพคเกจต่างๆ ราคากรุ๊ป และราคาที่เกิดจากการต่อรอง (Negotiation Rates) สำหรับใช้กับลูกค้าแต่ละรายได้
  • มีตารางราคา (Rate Grid) ไว้ให้เรียกมาดูและนำไปใช้งานได้
  • บริหารคิวผู้ของ (Waitlist) ได้

การบริหารจัดการ Profile ลูกค้า :

  • สามารถติดตามตรวจสอบประวัติลูกค้าที่เป็นสมาชิก หรือลูกค้าเก่าได้
  • มีคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายค่า Commissions สำหรับลูกค้า ตัวแทนจำหน่าย หรือแหล่งที่มาของการจองของลูกค้าแต่ละรายไว้อย่างชัดเจน
  • แสดงประวัติ สถิติการใช้บริการในอดีต และการจองสำหรับการใช้บริการในอนาคตของลูกค้าแต่ละรายได้

การจองแบบหมู่คณะ และการกันห้องไว้เพื่อการจำหน่าย :

  • ควบคุมการจองห้องพักสำหรับหมู่คณะได้
  • บริหารจัดการ Room Alloment และ Cut Off Date/Days ผ่านระบบได้
  • กันห้องพักในลักษณะ Super Group Blocks สำหรับการจองห้องพักแบบหมู่คณะเดียว ในโรงแรมหลายๆ แห่งในระบบเดียวกัน หรือหลายๆ ครั้งที่เข้าพักได้

การจัดการเกี่ยวกับการจอง :

  • Transaction activity by agent and CRO
  • สร้างเอกสารยืนยันการจอง หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งผ่านระบบออนไลน์ หรือทาง แฟกซ์ จากระบบส่งถึงลูกค้าโดยอัตโนมัติ
  • ติดตามตรวจสอบแหล่งที่มาของการจองที่มีราคาที่แตกต่างกันได้

การรายงาน :

  • รายงานคาดการณ์การเข้าพักในแต่ละวัน (Expected Arrivals)
  • รายงานกิจกรรมเกี่ยวกับการจองทั้งหมด (Total Booking Activity)
  • รายงานสรุปกิจกรรมการจองประจำเดือน (Monthly Booking Activity Summary)
  • รายงานสรุปกิจกรรมการจองประจำวัน (Daily Booking Activity Summary)
  • รายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจอง
หมายเหตุ : CRS นั้น บางรายอาจจะหมายความว่า Computerized Reservation System ก็ได้ แต่มีการใช้งานในลักษณะเดียวกัน

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


การใช้คอมพิวเตอร์กับธุรกิจโรงแรม

        ปัจจุบันได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารกิจการของโรงแรม โดยการติดตั้งเครื่องพ่วงเทอร์มินัลสำหรับการรับส่งข้อมูลไว้ยังจุดบริการต่างๆ ของโรงแรม เช่น แผนกต้อนรับ บาร์ ภัตตาคาร คอฟฟี่ช้อป แผนกบริการจองห้องพัก พนักงานเงิน เป็นต้น ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการใช้บริการของผู้ที่มาพัก การจองห้องพักจะถูกส่งเข้ามาทางเครื่องพ่วงดังกล่าว จากนั้นจะนำข้อมูลไปลงบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งแขกที่มาพักต้องการออกจากโรงแรม พนักงานการเงินจะเรียกรายการบัญชีของแขกที่มาพักที่ได้บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ออกมา และสังพิมพ์ใยเสร็จให้แขกที่มาพักได้ทันที นอกจากนี้ผู้บริการโรงแรมยังสามารถเรียกข้อมูลและสั่งพิมพ์รายงานสรุปผลการทำงานประจำวัน ทำให้สามารถประมาณการและวางแผนได้ดียิ่งขึ้น

การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการอุตสาหกรรมทั่วไป

        การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการอุตสาหกรรม นอกจากจะใช้ในด้านการลงบัญชีประเภทต่างๆ และการวิเคราะห์การขายแล้ว ยังได้มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการควบคุมสินค้าคงเหลืออย่างได้ผล โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีโกดังเก็บของอยู่หลายแหล่ง หรือหน่วยผลิตอยู่หลายๆ ที่ คอมพิวเตอร์สามารถบอกยอดสินค้าคงเหลือ และออกเป็นรายงานได้ตามที่ต้องการ การใช้เครื่องพ่วงตามจุดต่างๆ ตลอดจนตามโกดังจะช่วยให้สามารถเพิ่มบริการให้กับลูกค้า ในด้านการควบคุมการผลิตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมคุณภาพโดยการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวอย่างผลผลิตมาเปรียบเทียบกับคุณภาพมาตรฐานที่วางไว้ และยังสามารถตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมบางแห่งยังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต (Process Control) เช่นการควบคุมการให้ส่วนผสมให้ถูกต้อง ควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น ในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิตสินค้าใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างแบบเสื้อ รองเท้า โดยใช้ต้นแบบที่นักออกแบบวาดขึ้นมาทำให้สามาถผลิตได้ตามแบบและขนาดที่ต้องการได้อย่างเม่นยำ

การเปลี่ยนสู่ยุคสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Society)


        โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ (2551 : 342-343) ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลสู่ยุคสังคมอิเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการรวมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า ICT (Information and Commnunication Technology) ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันมากขึ้น คนในสังคมจึงต้องปรับตัวมากขึ้นเพื่อเข้าสู่โลกยุคใหม่ นักศึกษาสามารถหาแหล่งความรู้มากมายจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ธุรกิจต้องแข็งขันกันในเรื่องของความรอบรู้ และเพื่อความอยู่รอด ภาครัฐใช้เพื่อให้บริการประชาชนให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

        ปัจจุบันมีการพูดถึง “E” กันอย่างแพร่หลายทั้งนี้เพราะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกมิติของการทำงานในชีวิตประจำวันมากขึ้น อริสา คูประสิทธิ์ (2553) ได้รวบรวมและแบ่งประเภทออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 อี ที่เป็นนโยบายของรัฐบาล

e-Government หรือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาครัฐ โดยการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริการประชาชน (front office) และการบริหารภาครัฐ (back office)

e-Industry หรือ การนำเทรโคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคการผลิตเช่น การพัฒนาข้อมูลศูนย์การตลาดและตลาดกลางสินค้าอุตสาหกรรม การพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม ICT และการนำ ICT มาสนับสนุนการพัฒนา SMEs เป็นต้น

e-Commerce หรือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคการพาณิชย์ เช่นเรื่องกฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการจัดการฐานข้อมูลและระบบจัดการข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อส่งเสริม SMEs เป็นต้น

e-Society หรือการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคสังคม เพื่อลดการเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับกลุ่มด้อยโอกาสและประชาชนในชนบทรวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มสังคม

e-Education หรือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทสและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคการศึกษา โดยเป็นการจัดหา สร้าง ส่งเสริมและสนับสนุน โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนรู้

กลุ่มที่ 2 อี ที่เป็นงานหรือกิจกรรม

e-Book คือหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่จัดทำข้อมูบในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ หรือผ่านอุปกรณ์จัดเก็บบันทึกข้อมูลคอมแพคดิสก์ โดยสามารถจัดทำให้มีการนำภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ เสียงหรือเกมส์ มาใช้ประกอบเนื้อหาได้

e-Business คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร บริการและสินค้าระหว่างธรุกิจผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์

e-Citizen คือเว็บไซต์ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองการพัฒนา e-Government โดยมีการให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ทั้งในส่วนของการบริการประชาชน การบริการธุรกิจ และการบริการภาครัฐ

e-Commerce คือการทำธุรกรมขายสินค้าและบริการผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบเครือข่ายออนไลน์

e-Form คือแบบฟอร์มการขอรับบริการที่ถูกจัดเก็บไว้บนเว็บไซต์ให้ผู้ที่ต้องการรับบริการในเรื่องนั้นๆ ได้สามารถดาวน์โหลดเพื่อโอนไฟล์ข้อมูลมาเก็บไว้ที่เครื่องของตนเองเพื่อพิมพ์แบบฟอร์มไว้กรอก หรือสามารถกรอกผ่านทางเว็บไซต์ในรูปแบบที่หน้าตาที่เหมือนฟอร์มเอกสาร

e-Learning คือระบบการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งมีทั้งแบบผู้เรียนเข้าไปดูบทเรียนและทำแบบฝึกหัดบนเครื่องแม่ข่าย หรือผู้เรียนเข้าไปเรียนและโต้ตอบกับผู้สอนผ่านเครื่องแม่ข่ายในเวลาเดียวกันโดยมีเนื้อหาเป็นข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ

e-Library คือระบบการสืบค้น เรียกดู ยืมคืนทรัพยากรห้องสมุดผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ รวมทั้งสามารถเรียกเก็บ และตัดยอดสมาชิก ค่าบริการ ค่าปรับผ่านระบบเครือข่ายได้เลย

e-Magazine คือ นิตยสารที่จัดทำในรูปการนำเสนอข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์

e-Mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเปรียบเสมือนจดหมายทั่วไป เพียงแต่ว่าทำงานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยมีรูปแบบของที่อยู่คือ ชื่อผู้รับตามด้วยเครื่องหมาย “@” และตามด้วยที่อยู่บนเครือข่ายของผู้รับเช่น paisarn77@hotmail.com

e-Money คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลด้านการเงินและใช้แทนเงิน

e-Procurement คือ การจัดซื้อ จัดจ้างภาครัด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีระบบย่อยได้แก่ e-Auction คือการประมูล , e-Shopping คือการเลือกซื้อสินค้า , e-Catalog คือการแสดงรายละเอียดสินค้า และ e-RFP คือการส่งคำขอไปยังผู้ขาย

e-Service คือการให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายออนไลน์

e-Signature คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ยืนยันตัวตนเมื่อใช้บริการในอินเตอร์เน็ต




ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information
                  เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ 

Global Distribution System (GDS)

Global Distribution System (GDS)



Global Distribution System (GDS)
                  การใช้บริการช่องทางจัดจำหน่ายของ GDS นี้นั้น มีค่าใช้จ่ายต่างๆ หลายระดับดังต่อไปนี้
หลักการทำงาน
ระบบ Global Distribution System (GDS) นี้เดิมทีพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางในการจัดจำหน่ายตั๋วเครื่องบินของสาย การบินพาณิชย์ทั่วโลก แล้วต่อมามีการพัฒนาระบบมารองรับการจองห้องพักโรงแรม ตลอดจนสินค้าและบริการด้านท่องเที่ยวอื่นๆ สำหรับ Travel Agent ด้วย
การ ใช้ช่องทาง GDS ในการจัดจำหน่ายห้องพักโรงแรมนั้น โรงแรมต้องติดต่อกับผู้ให้บริการช่องทางจัดจำหน่าย (Channel Provider) ที่จะเป็นคนกลางในการจัดสร้างฐานข้อมูลและรายละเอียดของโรงแรมต่างๆ ใส่ในระบบของตนเอง แล้วทำการเชื่อมต่อข้อมูลไปสู่ผู้ให้บริการระบบจัดจำหน่ายที่ให้บริการกับ Travel Agents ต่างๆ อยู่ เพื่อทำการจัดจำหน่ายให้กับลูกค้าต่อไป
 1. ค่า Channel Fee สำหรับ Channel Provider หรือ Distributor ของเชนโรงแรมต่างๆ ที่ปกติจะเก็บค่าธรรมเนียมเป็นเปอร์เซนต์จากยอดขาย (ประมาณ 5-8%)
2. ค่า Transaction Fee เสียให้กับ System Provider ที่เป็นผู้จัดทำระบบมาให้ใช้ ที่ปกติจะเสียค่าบริการเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนต่อ 1 รายการจอง โดยไม่คำนึงว่าระยะการจองจะสั้นหรือยาว (ประมาณ 3-5 US$ ต่อ 1 Booking)
3. ค่า Commission สำหรับ Travel Agents หรือ Travel Consultant ที่เป็นผู้ทำการจองห้องพักโรงแรมให้กับลูกค้า ที่เป็นธรรมเนียมว่าจะเรียกเก็บค่าบริการจำนวน 10% จากยอดการจองแต่ละรายการ (Travel Agents หรือ Travel Consultants เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัททัวร์ หรือบริษัทท่องเที่ยว อาจจะเป็นแผนกหนึ่งของบริษัทใหญ่ๆ ที่ได้มีการติดตั้งเครื่องสำหรับรับจอง (Terminal)
1. โรงแรมจัดทำโครงสร้างราคาขายห้องพักของตนเองที่แบ่งเป็น Rate Tier ของ Market Segment ต่างๆ ที่ราคาขายสุทธิจะแตกต่างกันไป ใส่เข้าไปในระบบของ Channel Provider ที่ได้ทำการสัญญาตกลงกันไว้ (ต้องใส่ให้ถูก Rate Tier เพราะ ถ้าใส่ผิด ทางโรงแรมต้องเป็นผู้รับผิดชอบ) และตั้งค่ากำหนด และเงื่อนไขต่างๆ ในการขาย พร้อมทั้งใส่ Allotment ห้องพักแต่ละชนิด ที่เปิดขาย
2. Channel Provider ทำการเชื่อมต่อระบบไปกับระบบ GDS สำหรับการรับจองห้องพัก ทุกระบบที่ให้บริการ (บางระบบ มีให้บริการในบางภูมิภาคเท่านั้น)
3. Travel Agents หรือ Travel Consultant ที่ใช้บริการเครื่อง Terminal ของระบบรับจองเหล่านี้ ให้บริการรับจองห้องพักให้แก่ลูกค้าของตนเอง
4. ลูกค้าผู้ใช้บริการจองห้องพัก ให้ข้อมูลรายละเอียดบัตรเครดิตของตนเองแก่ Travel Agents หรือ Travel Consultants เพื่อใช้ในการ Guarantee การจองห้องพัก โดยพนักงานผู้รับจองจะป้อนข้อมูลต่างๆ เข้าระบบ แล้วทำการจองและออกใบยืนยันการจองห้องพักตามที่ระบบ GDS มี Allotment อยู่ให้กับลูกค้าได้ในทันที โดยราคาขายนั้นเป็นราคาเดียวกันกับที่ทางโรงแรมกำหนด และป้อนเข้าสู่ระบบ
5. โรงแรมเก็บเงินจากบัตรเครดิตลูกค้าโดยตรงตามราคาที่ลูกค้าจองไว้
6. เมื่อครบกำหนดตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ ทางโรงแรมต้องทำการชำระเงินค่าบริการให้แก่ Channel Provider, GDS System Provider และ Travel Agents หรือ Travel Consultant ตามยอดการเข้าพักจริงของลูกค้า (ในบางราย แม้ลูกค้าจะไม่ได้เข้าพัก แต่ทางโรงแรมก็ต้องจ่ายค่าบริการ Transaction Fee ให้กับ Channel Provider และ System Provider แต่ทาง Travel Agents หรือ Travel Consultant อาจจะไม่ได้รับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในสัญญาที่ตกลงกันไว้)
จะ เห็นได้ว่า การจัดจำหน่ายผ่านช่องทาง GDS นั้น เป็นช่องทางการจำหน่ายไปยังกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้บริการห้องพักโดยตรง และครอบคลุมตลาดทั่วโลก แต่การจัดจำหน่ายแบบนี้ก็มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและไม่คุ้มค่า ถ้าโรงแรมนั้นเป็นโรงแรมในเมืองที่ราคาค่าห้องพัก ไม่สูงนัก และ Length of Stay (LOS) ต่อ 1 รายการจองต่ำ แต่จะมีต้นทุนที่ต่ำและมีความคุ้มค่าสูง ถ้าเป็นการจองห้องพักของรีสอร์ทที่อัตราค่าห้องพักต่อคืนสูง และ LOS ของแต่ละรายการจองที่ค่อนข้างยาว