การใช้คอมพิวเตอร์กับธุรกิจโรงแรม
ปัจจุบันได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารกิจการของโรงแรม
โดยการติดตั้งเครื่องพ่วงเทอร์มินัลสำหรับการรับส่งข้อมูลไว้ยังจุดบริการต่างๆ
ของโรงแรม เช่น แผนกต้อนรับ บาร์ ภัตตาคาร คอฟฟี่ช้อป แผนกบริการจองห้องพัก
พนักงานเงิน เป็นต้น ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการใช้บริการของผู้ที่มาพัก
การจองห้องพักจะถูกส่งเข้ามาทางเครื่องพ่วงดังกล่าว
จากนั้นจะนำข้อมูลไปลงบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
จนกระทั่งแขกที่มาพักต้องการออกจากโรงแรม
พนักงานการเงินจะเรียกรายการบัญชีของแขกที่มาพักที่ได้บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ออกมา
และสังพิมพ์ใยเสร็จให้แขกที่มาพักได้ทันที
นอกจากนี้ผู้บริการโรงแรมยังสามารถเรียกข้อมูลและสั่งพิมพ์รายงานสรุปผลการทำงานประจำวัน
ทำให้สามารถประมาณการและวางแผนได้ดียิ่งขึ้น
การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการอุตสาหกรรมทั่วไป
การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการอุตสาหกรรม
นอกจากจะใช้ในด้านการลงบัญชีประเภทต่างๆ และการวิเคราะห์การขายแล้ว
ยังได้มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการควบคุมสินค้าคงเหลืออย่างได้ผล
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีโกดังเก็บของอยู่หลายแหล่ง หรือหน่วยผลิตอยู่หลายๆ ที่
คอมพิวเตอร์สามารถบอกยอดสินค้าคงเหลือ และออกเป็นรายงานได้ตามที่ต้องการ
การใช้เครื่องพ่วงตามจุดต่างๆ
ตลอดจนตามโกดังจะช่วยให้สามารถเพิ่มบริการให้กับลูกค้า
ในด้านการควบคุมการผลิตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมคุณภาพโดยการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวอย่างผลผลิตมาเปรียบเทียบกับคุณภาพมาตรฐานที่วางไว้
และยังสามารถตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว
อุตสาหกรรมบางแห่งยังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต (Process Control) เช่นการควบคุมการให้ส่วนผสมให้ถูกต้อง
ควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น ในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิตสินค้าใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างแบบเสื้อ
รองเท้า
โดยใช้ต้นแบบที่นักออกแบบวาดขึ้นมาทำให้สามาถผลิตได้ตามแบบและขนาดที่ต้องการได้อย่างเม่นยำ
การเปลี่ยนสู่ยุคสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Society)
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์ (2551 : 342-343)
ได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลสู่ยุคสังคมอิเล็กทรอนิกส์ว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการรวมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเข้าไว้ด้วยกัน
ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า ICT (Information and Commnunication Technology) ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันมากขึ้น
คนในสังคมจึงต้องปรับตัวมากขึ้นเพื่อเข้าสู่โลกยุคใหม่ นักศึกษาสามารถหาแหล่งความรู้มากมายจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ธุรกิจต้องแข็งขันกันในเรื่องของความรอบรู้ และเพื่อความอยู่รอด
ภาครัฐใช้เพื่อให้บริการประชาชนให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมีการพูดถึง “E” กันอย่างแพร่หลายทั้งนี้เพราะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกมิติของการทำงานในชีวิตประจำวันมากขึ้น
อริสา คูประสิทธิ์ (2553) ได้รวบรวมและแบ่งประเภทออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 อี ที่เป็นนโยบายของรัฐบาล
e-Government หรือ
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาครัฐ โดยการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริการประชาชน
(front office) และการบริหารภาครัฐ (back office)
e-Industry หรือ
การนำเทรโคโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคการผลิตเช่น
การพัฒนาข้อมูลศูนย์การตลาดและตลาดกลางสินค้าอุตสาหกรรม การพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม ICT
และการนำ ICT มาสนับสนุนการพัฒนา SMEs เป็นต้น
e-Commerce หรือ
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคการพาณิชย์
เช่นเรื่องกฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการจัดการฐานข้อมูลและระบบจัดการข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อส่งเสริม
SMEs เป็นต้น
e-Society หรือการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคสังคม
เพื่อลดการเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้
และส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับกลุ่มด้อยโอกาสและประชาชนในชนบทรวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มสังคม
e-Education หรือ
การนำเทคโนโลยีสารสนเทสและการสื่อสารมาพัฒนาในภาคการศึกษา โดยเป็นการจัดหา สร้าง
ส่งเสริมและสนับสนุน
โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนรู้
กลุ่มที่ 2 อี ที่เป็นงานหรือกิจกรรม
e-Book คือหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่จัดทำข้อมูบในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์
หรือผ่านอุปกรณ์จัดเก็บบันทึกข้อมูลคอมแพคดิสก์
โดยสามารถจัดทำให้มีการนำภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ เสียงหรือเกมส์
มาใช้ประกอบเนื้อหาได้
e-Business คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
บริการและสินค้าระหว่างธรุกิจผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
e-Citizen คือเว็บไซต์ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองการพัฒนา
e-Government โดยมีการให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ทั้งในส่วนของการบริการประชาชน
การบริการธุรกิจ และการบริการภาครัฐ
e-Commerce คือการทำธุรกรมขายสินค้าและบริการผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบเครือข่ายออนไลน์
e-Form คือแบบฟอร์มการขอรับบริการที่ถูกจัดเก็บไว้บนเว็บไซต์ให้ผู้ที่ต้องการรับบริการในเรื่องนั้นๆ
ได้สามารถดาวน์โหลดเพื่อโอนไฟล์ข้อมูลมาเก็บไว้ที่เครื่องของตนเองเพื่อพิมพ์แบบฟอร์มไว้กรอก
หรือสามารถกรอกผ่านทางเว็บไซต์ในรูปแบบที่หน้าตาที่เหมือนฟอร์มเอกสาร
e-Learning คือระบบการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์
ซึ่งมีทั้งแบบผู้เรียนเข้าไปดูบทเรียนและทำแบบฝึกหัดบนเครื่องแม่ข่าย
หรือผู้เรียนเข้าไปเรียนและโต้ตอบกับผู้สอนผ่านเครื่องแม่ข่ายในเวลาเดียวกันโดยมีเนื้อหาเป็นข้อความ
ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ
e-Library คือระบบการสืบค้น เรียกดู
ยืมคืนทรัพยากรห้องสมุดผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ รวมทั้งสามารถเรียกเก็บ
และตัดยอดสมาชิก ค่าบริการ ค่าปรับผ่านระบบเครือข่ายได้เลย
e-Magazine คือ
นิตยสารที่จัดทำในรูปการนำเสนอข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งสามารถเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์
e-Mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งเปรียบเสมือนจดหมายทั่วไป เพียงแต่ว่าทำงานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยมีรูปแบบของที่อยู่คือ
ชื่อผู้รับตามด้วยเครื่องหมาย “@” และตามด้วยที่อยู่บนเครือข่ายของผู้รับเช่น
paisarn77@hotmail.com
e-Money คือ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลด้านการเงินและใช้แทนเงิน
e-Procurement คือ การจัดซื้อ จัดจ้างภาครัด้วยอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีระบบย่อยได้แก่ e-Auction คือการประมูล , e-Shopping คือการเลือกซื้อสินค้า
, e-Catalog คือการแสดงรายละเอียดสินค้า และ e-RFP คือการส่งคำขอไปยังผู้ขาย
e-Service คือการให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายออนไลน์
e-Signature คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ยืนยันตัวตนเมื่อใช้บริการในอินเตอร์เน็ต
No comments:
Post a Comment